การซ้อนทับของคลื่น(Superposition
Principle)
รูปแสดงการเกิดการซ้อนทับของคลื่น
ที่มา : http://www2.pm.ac.th/wave/superposition.html
เมื่อคลื่นสองขบวนเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการรวมกันเป็นคลื่นใหม่โดยที่คลื่นเดิมซ่อนรูปอยู่ในคลื่นใหม่ ซึ่งคลื่นเดิมจะแสดงคุณสมบัติเดิมออกมารูปเดิมอีกเมื่อคลื่นนั้นเคลื่อนที่ผ่านไป การกระจัดของคลื่นใหม่ที่เกิด ณ ตำแหน่งต่าง ๆ เป็นผลบวกของการกระจัดของคลื่นทั้งสองที่ตำแหน่งนั้น (บวกกันแบบเวกเตอร์) ซึ่งมีผลให้แอมพลิตูดของคลื่นใหม่เท่ากับผลรวมของแอมพลิจูดของคลื่นทั้งสอง
การรวมกันของคลื่นสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
1) การรวมกันแบบเสริม
เป็นการรวมกันชนิดที่ทำให้การ
กระจัดของคลื่นลัพธ์(คลื่นลูกใหม่)มีค่ามากขึ้นซึ่งเกิดจากคลื่นทั้งสองมีการกระจัดทิศเดียวกันมารวมกัน
อาจเป็นการกระจัดบวกของทั้งสองคลื่น หรืออาจเกิดจากการกระจัดที่เป็นลบ
ของทั้งสองคลื่นก็ได้ มีผลให้แอมพลิจูดลัพธ์เพิ่มขึ้น
2) การรวมกันแบบหักล้างกัน
เป็นการรวมกันชนิดที่ทำให้การกระจัดของคลื่นลัพธ์ (คลื่นลูกใหม่) มีค่าลดลง
ซึ่งเกิดจากคลื่นทั้งสองมีการกระจัดทิศตรงข้ามมารวมกัน มีผลให้แอมพลิจูดลัพธ์ลดลง
รูปแสดงการเกิดการซ้อนทับของคลื่น
ที่มา : http://www2.pm.ac.th/wave/superposition.html
รูปแสดงการเกิดการซ้อนทับของคลื่น
ที่มา : http://www2.pm.ac.th/wave/superposition.html
การรวมกันของคลื่นวงกลมแบบต่อเนื่อง
- ถ้ามีคลื่นดลรูปวงกลม จากแหล่งกำเนิดคลื่น 2 แหล่ง เคลื่อนที่เข้าหากันดังรูป ให้เส้นทึบแทนท้องคลื่น
และเส้นประแทนสันคลื่น เมื่อท้องคลื่นรวมกับท้องคลื่น (เป็นการรวมแบบเสริมกัน)
- เมื่อสันคลื่นรวมกับสันคลื่น (เป็นการรวมแบบเสริมกัน)
- เมื่อสันคลื่นรวมกับท้องคลื่น หรือ ท้องคลื่นรวมกับสันคลื่น (เป็นการรวมแบบหักล้าง)
- ถ้ามีคลื่นดลรูปวงกลม จากแหล่งกำเนิดคลื่น 2 แหล่ง เคลื่อนที่เข้าหากันดังรูป ให้เส้นทึบแทนท้องคลื่น
และเส้นประแทนสันคลื่น เมื่อท้องคลื่นรวมกับท้องคลื่น (เป็นการรวมแบบเสริมกัน)
- เมื่อสันคลื่นรวมกับสันคลื่น (เป็นการรวมแบบเสริมกัน)
- เมื่อสันคลื่นรวมกับท้องคลื่น หรือ ท้องคลื่นรวมกับสันคลื่น (เป็นการรวมแบบหักล้าง)
รูปแสดงการรวมกันของคลื่น
แหล่งข้อมูล : http://www2.pm.ac.th/wave/superposition2.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น