วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลื่นกล (Mechanical Wave )



คลื่นกล (Mechanical Wave )

ความหมายของคลื่นกล
              คลื่นกล คือการถ่ายโอนพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลื่อนที่ไปของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่าย โอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้  ดังนั้นคลื่นกลจะเดินทางและส่งผ่านพลังงานโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่ง อย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง เพราะตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่แต่จะสั่นไปมารอบจุดสมดุล  ต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง

แหล่งข้อมูล : http://kruweerajit1. blogspot.com/


  


การแบ่งประเภทของคลื่น



การแบ่งประเภทของคลื่น

แบ่งทิศทางของการเคลื่อนที่ของคลื่น แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. คลื่นตามขวาง (transverse wave)   ลักษณะของอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก 


รูปแสดงคลื่นตามขวาง
ที่มา : http://kruweerajit1. blogspot.com/
 
2. คลื่นตามยาว (longitudinal wave)    ลักษณะอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง

 รูปแสดงคลื่นตามขวาง
ที่มา : http://kruweerajit1. blogspot.com/



วีดีโอเปรียบเทียบคลื่นตามขวาง กับคลื่นตามยาว 

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=7cDAYFTXq3E
แบ่งตามจำนวนครั้งที่เกิด แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

1.คลื่นดล (Pulse Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น หรือการรบกวนตัวกลางเป็นช่วงเวลาสั่น ๆ  ทำให้เกิดคลื่นเพียง 1 หรือ 2 คลื่น แผ่ออกไป  เช่น การนิ้วจุ่มที่ผิวน้ำเพียงครั้งหรือ 2 ครั้ง 
2. คลื่นต่อเนื่อง (Continuous Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น หรือการรบกวนตัวกลางอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคลื่นแผ่ออกไปเป็นขบวนอย่างต่อเนื่อง เช่น การเกิดคลื่นผิวน้ำเนื่องจากแหล่งกำเนิดติดกับมอเตอร์ หรือการสะบัดเชือกอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูล : http://kruweerajit1. blogspot.com/